วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

พีระมิด

1.การเรียกชื่อพีระมิด



2. ส่วนประกอบของพีระมิด  

พีระมิดแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ พีระมิดตรงและพีระมิดเอียง   พีระมิดตรง หมายถึง พีระมิดที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า มีสันยาวเท่ากันทุกเส้น จะมีสูงเอียงทุกเส้นยาวเท่ากัน และส่วนสูงตั้งฉากกับฐานที่จุดซึ่งอยู่ห่างจากจุดยอดมุมของรูปเหลี่ยมที่เป็นฐานเป็นระยะเท่ากัน มีหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ส่วนกรณีที่สันทุกสันยาวไม่เท่ากัน สูงเอียงทุกเส้นยาวไม่เท่ากัน เรียกว่า พีระมิดเอียง


3. การหาความยาวด้านต่างๆ ของพีระมิด

การจะหาพื้นที่ผิวและปริมาตรของพีระมิดได้นั้น ควรจะหาความยาวด้านต่างๆ ของพีระมิดให้ได้ก่อน การหาความยาวด้านต่างๆ มักใช้ทฤษฎีบทปีทาโกรัส



3.1) การหาความสูงเอียง กรณีที่โจทย์กำหนดความยาวสัน


3.2) การหาความสูงเอียง กรณีที่โจทย์กำหนดส่วนสูง


3.3) การหาความสูง กรณีโจทย์กำหนดสูงเอียง


4. พื้นที่ผิวของพีระมิด

4.1) พื้นที่ผิวข้าง



พื้นที่ผิวข้างของพีระมิด = ½ × ความยาวรอบฐาน × สูงเอียง

4.2) พื้นที่ผิว


พื้นที่ผิวของพีระมิด คือ ผลรวมของพื้นที่ผิวข้างทุกด้านของพีระมิด ดังนั้น
พื้นที่ผิวทั้งหมด = พื้นที่ฐาน + พื้นที่ผิวข้างทุกด้าน

สรุป
1) พื้นที่ของหน้าทุกหน้าของพีระมิดรวมกันเรียกว่า พื้นที่ผิวข้างของพีระมิด
และพื้นที่ผิวข้างของพีระมิดรวมกับพื้นที่ฐานของพีระมิดเรียกว่า พื้นที่ผิวของพีระมิด
2) สูตรการหาพื้นที่ผิวข้างของพีระมิด 1 ด้าน = ½ × ฐาน × สูงเอียง
3) ในกรณีที่เป็นพีระมิดตรง (ฐานเป็นรูปเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า)
พื้นที่ผิวข้างของพีระมิด = ½ × ความยาวรอบฐาน × สูงเอียง
4) สูตรการหาพื้นที่ผิวทั้งหมด = พื้นที่ฐาน + พื้นที่ผิวข้างทุกด้าน





ในวีดีโอนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหาพื้นที่ผิวของพีระมิด ทำให้เข้าใจการหาพื้นที่ผิวของพีระมิดมากขึ้น 





ที่มา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น